|
|
|
|
|
|
|
|
|
เป็นเงินกู้เร่งด่วน เพื่อแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเงินเฉพาะหน้า กู้ได้ 90 % ของทุนเรือนหุ้น วงเงินไม่เกิน 10,000 บาท ผ่อนชำระไม่เกิน 5 งวด คุณสมบัติผู้ที่จะขอยื่นกู้ 1. ผู้มีสิทธิ์ยื่นกู้ฉุกเฉิน ต้องเป็นสมาชิกสหกรณ์ 6 เดือนขึ้นไป 2. ผ่านการอบรมอย่างน้อย 1 ครั้ง 3. สะสมหุ้นและชำระหนี้อย่างสม่ำเสมอติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน |
|
|
เป็นเงินกู้ปกติ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนกู้ได้ไม่เกิน 2 - 3 เท่าของทุนเรือนหุ้น วงเงินไม่เกิน 100,000 บาท โดยมีเพื่อนสมาชิกค้ำประกัน 2 คน ชำระคืนไม่เกิน 12 - 36 เดือน (การอนุมัติวงเงินกู้ยืมขึ้นอยู่กับวงเงินค้ำประกันด้วยว่าเพียงพอหรือไม่)
คุณสมบัติผู้ที่จะขอยื่นกู้ 1. ผู้มีสิทธิ์ยื่นกู้สามัญ ต้องเป็นสมาชิกสหกรณ์ 6 เดือนขึ้นไป 2. ผ่านการอบรมอย่างน้อย 1 ครั้ง 3. สะสมหุ้นและชำระหนี้อย่างสม่ำเสมอติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน |
|
|
เป็นเงินกู้เพื่อเสริมความมั่นคงของครอบครัวลงทุนประกอบอาชีพ กู้ได้ 10 เท่าของทุนเรือนหุ้น โดยมีหลักทรัพย์ค้ำประกันวงเงินไม่เกิน 1,000,000 บาท ชำระคืนไม่เกิน 40 - 70 เดือนเงินกู้พิเศษโครงการ ตามประกาศของสหกรณ์
คุณสมบัติผู้ที่จะขอยื่นกู้ 1. ผู้มีสิทธิ์ยื่นกู้พิเศษ ต้องเป็นสมาชิกสหกรณ์ 1 ปีขึ้นไป 2. ผ่านการอบรมอย่างน้อย 1 ครั้ง 3. สะสมหุ้นและชำระหนี้อย่างสม่ำเสมอติดต่อกันเป็นเวลา 1 ปี |
|
เงินกู้ฉุกเฉิน |
1.สมุดประจำตัวสมาชิก |
2.สมุดเงินฝากออมทรัพย์ |
|
เงินกู้สามัญ |
1. ยื่นกู้ไม่เกิน 90% ของทุนเรือนหุ้น |
- สมุดประจำตัวสมาชิก |
- สมุดเงินฝากออมทรัพย์ |
- บัตรประชาชน และ ทะเบียนบ้าน |
2. ยื่นกู้ไม่เกิน 2 - 3 เท่าของทุนเรือนหุ้น |
- สมุดประจำตัวสมาชิก (ของผู้กู้และผู้ค้ำประกัน 2 คน) |
- สมุดเงินฝากออมทรัพย์ (เฉพาะของผู้กู้) |
- บัตรประชาชน และ ทะเบียนบ้าน (ของผู้กู้และผู้ค้ำประกัน 2 คน) |
|
เงินกู้พิเศษ |
ยื่นกู้โดยมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน |
- สมุดประจำตัวสมาชิก (เล่มสีแดง) |
- สมุดเงินฝากออมทรัพย์ (เล่มสีเขียว) |
- บัตรประชาชนของผู้กู้ (ของคู่สมรสด้วย.. ถ้ามี) |
- ทะเบียนบ้านของผู้กู้ (ของคู่สมรสด้วย.. ถ้ามี) |
- เอกสารของคู่สมรส (ถ้ามี) เช่นใบสมรส ใบหย่า |
- หลักทรัพย์ค้ำประกัน เช่น โฉนดที่ดิน |
- ราคาประเมินหลักทรัพย์จากสำนักงานที่ดิน |
- หนังสือรับรองรายได้ |
- แผนที่ประกอบหลักทรัพย์ |
- รูปถ่ายหลักทรัพย์ |
- เอกสารการเป็นหนี้ กรณีกู้เงินไปชำระบัตรเครดิต,เงินกู้นอกระบบ |
|
|
เงินกู้ฉุกเฉิน
|
สามารถยื่นเรื่องการขอกู้ได้ทุกวันทำการ ทำสัญญาเรียบร้อยแล้ว สมาชิกรับเงินได้ทันที |
เงินกู้สามัญ |
สมาชิกสามารถยื่นกู้ได้ทุกวันทำการ คณะกรรมการพิจารณาอนุมัติเงินกู้ทุกวันอาทิตย์ สัปดาห์ละ 1 ครั้งและสามารถรับเงินกู้ได้หลังเวลา 14.30 น.ของวันอาทิตย์หรือวันถัดไป |
เงินกู้พิเศษ |
สมาชิกสามารถยื่นเอกสารได้ทุกวันทำการ คณะกรรมการพิจารณาอนุมัติเงินกู้เดือนละ 1 ครั้ง และมาสัมภาษณ์ตามที่สหกรณ์กำหนด |
|
*** การกู้ยืมวงเงินไม่เกิน 90% ของทุนเรือนหุ้นสามารถรับเงินได้ทันที *** |
|
1. คุณสมบัติของสมาชิก |
2. วัตถุประสงค์การกู้ยืม |
3. วงเงินที่ขอกู้ยืม |
4. อาชีพของสมาชิกและครอบครัว |
5. รายได้ของสมาชิก |
6. ค่าใช้จ่ายของสมาชิก |
7. หนี้สินภายนอก |
8. ความสามารถในการชำระคืน |
9. วงเงินค้ำประกันหรือหลักทรัพย์ค้ำประกันเพียงพอหรือไม่ |
|
|
ประเภทเงินกู้ยืม |
กำหนดระยะเวลาการชำระคืนเงินกู้ |
อัตราดอกเบี้ย/ปี |
เงินกู้ฉุกเฉิน |
5 งวด |
12 % |
เงินกู้สามัญ |
12-36 งวด |
12 % |
เงินกู้พิเศษปกติ |
40-70 งวด |
12 % |
เงินกู้พิเศษโครงการ |
ตามประกาศ |
ตามประกาศ |
|
|
ถ้ากู้ยืมเงินไปวันที่ 1 - 7 |
ให้ชำระคืนเงินกู้ภายในวันที่ 7 ของทุกเดือน |
ถ้ากู้ยืมเงินไปวันที่ 8 - 25 |
ให้ชำระคืนเงินกู้ภายในวันที่รับเงินกู้ของเดือนถัดไป |
ถ้ากู้ยืมเงินไปหลังวันที่ 25 |
ให้ชำระคืนเงินกู้ภายในวันที่ 25 ของทุกเดือน |
|
*** หากชำระคืนเกินกำหนด หลังจากวันที่ 25 ของเดือน จะต้องเสีย ค่าปรับ 25 % ของดอกเบี้ย ณ วันที่มาชำระคืนเงินกู้ *** |
|
ตัวอย่าง |
กรณีสมาชิกมาชำระเงินหลังวันที่ 25 คือวันที่ 26 - 31 มีดอกเบี้ยเกิดขึ้น ณ วันที่มาชำระคืนเงินกู้เท่าไร ให้คูณไปอีก 25 % สมมุติสมาชิกมาชำระคืนเงินกู้วันที่ 26 -31 มีดอกเบี้ยเงินกู้เกิดขึ้น 100 บาท สมาชิกจะต้องเสียค่าปรับเพิ่มขึ้นอีก 25 บาท คือดอกเบี้ย 100 บาทบวกกับค่าปรับอีก 25 บาท รวมเป็น125 บาท |
|
*** ดังนั้นเรามาชำระเงินก่อนวันที่ 25 กันดีกว่าไหมครับ/ค่ะ จะได้ไม่ต้องเสียค่าปรับและเป็นการสร้างเครดิตของเราอีกด้วยครับ/ค่ะ*** |
|
|
จำนวนเงินที่กู้หรือเงินกู้คงเหลือ X อัตราดอกเบี้ย X ระยะเวลา (จำนวนวัน) 365 วัน |
|
ตัวอย่าง การชำระเงินกู้งวดแรก (จะนับวันที่กู้ด้วย) |
|
วันที่ 1 เมษายน 2550 สมาชิกกู้เงินจำนวน 12,000 บาท ชำระคืนภายใน 12 เดือน อัตราดอกเบี้ย 12% ต่อปี และสมาชิกมาชำระคืนเงินกู้งวดแรกวันที่ 1 พฤษภาคม 2550 |
|
ดอกเบี้ย = 12,000 X 12 % X (เม.ย. 30 วัน + พ.ค. 1 วัน รวมเป็น 31 วัน) 365 วัน |
= 122 บาท |
ดังนั้น รวมเงินที่จะต้องส่งคืนสหกรณ์ฯ = ต้น 1,000 + 122 บาท = 1,122 บาท |
|
ตัวอย่าง การชำระเงินกู้งวดถัดไป |
วันที่ 1 เมษายน 2550 สมาชิกกู้เงินจำนวน 12,000 บาท ชำระคืนภายใน 12 เดือน อัตราดอกเบี้ย 12% ต่อปี และสมาชิกมาชำระคืนเงินกู้งวดที่ 2 วันที่ 1 มิถุนายน 2550 |
ดอกเบี้ย = 11,000 X 12 % X (พ.ค.วันที่2ถึง31 = 30วัน +มิ.ย. 1 วัน รวมเป็น 31 วัน) 365 วัน |
= 112 บาท |
ดังนั้น รวมเงินที่จะต้องส่งคืนสหกรณ์งวดที่ 2 = ต้น 1,000 + 112 บาท = 1,112 บาท |
|
ผู้กู้และผู้ค้ำถือเป็นลูกหนี้ต้องรับผิดชอบหนี้ร่วมกัน หากผู้กู้ไม่ชำระคืนเงินกู้ยืม ทางสหกรณ์จะบังคับหนี้จาก ผู้ค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันจะอ้างว่าไม่รู้จักผู้กู้ไม่ได้ |
|
มีแต่องค์กรสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเท่านั้นที่คุ้มครองหนี้ให้สมาชิก ฟรี ! ในกรณีที่สมาชิกเสียชีวิตหรือทุพลภาพโดยสิ้นเชิง อีกทั้งยังไม่ต้องทิ้งภาระให้กับคนที่อยู่ข้างหลัง สมาชิกจะได้สวัสดิการชำระคืนเงินกู้ ฟรี ! สำหรับผู้ที่ปฎิบัติตามระเบียบการกู้ของสหกรณ์ โดยสมาชิกต้องไม่ค้างชำระหนี้ติดต่อกันเกิน 2 งวด และหากประสบปัญหาควรรีบมาปรึกษาสหกรณ์เพื่อผ่อนปรนปัญหาดังกล่าว
|
“ยามมีก็มาฝาก ยามยากก็มาถอน ยามเดือดร้อนก็มากู้ มีหนี้ก็ทยอยชำระ สวัสดิการก็มีให้มากมาย” |
|
|
กรณีสมาชิกกู้ยืมเงินไปแล้วทุพพลภาพโดยสิ้นเชิงก่อนอายุ 75 ปี หรือเสียชีวิตตามช่วงอายุ จะมีสวัสดิการรับชำระหนี้ให้ในวงเงินไม่เกิน 400,000 บาท |
|
อายุไม่เกิน 69 ปีบริบูรณ์ |
คุ้มครอง 100 % ของหนี้คงเหลือ |
อายุไม่เกิน 70 - 75 ปีบริบูรณ์ |
คุ้มครอง 20 % ของหนี้คงเหลือ |
อายุเกิน 75 ปีขึ้นไป(ตลอดชีวิต) |
คุ้มครอง 10 % ของหนี้คงเหลือ |
ตัวอย่าง
ในวันที่สมาชิกเสียชีวิตมีอายุไม่เกิน 69 ปีบริบูรณ์ มีหนี้ค้างชำระ 400,000 บาท ดังนั้นสมาชิกจะได้รับสวัสดิการชำระหนี้ให้ 100% เท่ากับ 400,000 บาท *** หนี้เงินกู้ที่เกิดขึ้นหลังอายุ 75 ปี จะไม่ได้รับความคุ้มครอง *** |
กู้ยืมเงินขณะเจ็บป่วยหากเสียชีวิตจะได้รับความคุ้มครองเงินกู้ครึ่งหนึ่ง...ถ้าเสียชีวิตโดยโรคทั่วไปจะคุ้มครองเมื่อรับเงินกู้ไปแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน... ถ้าเสียชีวิตด้วยโรคร้ายแรงจะคุ้มครองเมื่อรับเงินกู้ไปแล้ว ไม่น้อยกว่า 1 ปี โรคร้ายแรงประกอบด้วย โรคมะเร็ง เอดส์ วัณโรค (ที่เกี่ยวเนื่องมาจากเอดส์) |
|
|
|
เพื่อสร้างความมั่นคง ช่วยเหลือผู้กู้และผู้ค้ำประกัน สำหรับเงินกู้ที่ไม่มีหลักทรัพย์และเกิดเหตุสุดวิสัยไม่สามารถชำระหนี้ได้จึงจัดให้มีสวัสดิการกองทุนสงเคราะห์ โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้ 1. ผู้กู้และผู้ค้ำประกัน ต้องส่งเงินเข้ากองทุน รายละ 2,000 บาทโดยทยอยส่งเดือนละ 20 บาท 2. สมาชิกลาออกหรือถูกให้ออก สหกรณ์คืนกองทุนที่สมาชิกสะสม (เฉพาะกองทุนที่ครบ 2,000 บาท บวกดอกเบี้ย 2 %) 3. สมาชิกเสียชีวิตจะจ่ายสมทบคืนให้ 20 เท่า (40,000 บาท)เฉพาะรายที่สะสมครบ2,000 บาท 4. สมาชิกที่มีความประสงค์จะเข้ากองทุนครั้งเดียว 2,000 บาทและได้รับสวัสดิการตามข้อ3. มีหลักเกณฑ์ดังนี้ 4.1 อายุไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ ณวันที่เข้ากองทุน 4.2 ไม่อยู่ระหว่างเจ็บป่วย, เป็นโรคร้ายแรง 4.3 หลังจากส่งเงินเข้ากองทุนแล้ว 1 ปีขึ้นไปจึงจะได้รับความคุ้มครอง |
|
“ดังนั้นสมาชิกที่กู้เงินไปแล้วก็อย่าลืมมาชำระกันนะครับ/ค่ะ สหกรณ์เป็นของท่านในฐานะท่านก็คือเจ้าของกิจการคนหนึ่ง” |
|
“สหกรณ์ให้บริการกู้ยืมตามความจำเป็น และมีประโยชน์อย่างเป็นธรรม คิดดอกเบี้ยตามระยะเวลา ผู้กู้และผู้ค้ำประกันถือเป็นลูกหนี้ ต้องรับผิดชอบหนี้ร่วมกัน” |